เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่นิพพานธรรมอันธรรมอื่น ๆ
เทียบไม่ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อระงับอุปัทวะที่เกิดแก่สัตว์เหล่านั้น ทรง
อาศัยความที่รัตนะ คือนิพพานธรรม ไม่มีธรรมอื่นจะเหมือน ด้วยคุณทั้งหลาย
คือความเป็นธรรมเป็นที่สิ้นกิเลส สำรอกกิเลส เป็นอมตธรรมและธรรมอัน
ประณีต จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ เอ-
เตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ
แม้อันนี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม
ด้วยสัจจวจนะนี้ ขอความสวัสดี จงมี. ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตาม
นัยที่กล่าวมาแล้วในคาถาต้นนั่นแล. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากัน
ยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถาแม้นี้แล.

พรรณนาคาถาว่า ยมฺพุทฺธเสฏฺโฐ


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ตรัสสัจจวจนะ ด้วยคุณแห่งนิพพานธรรม
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสด้วยพระคุณแห่งมรรคธรรมว่า ยมฺพุทฺธ-
เสฏฺโฐ
เป็นต้น. ในคำนั้น ชื่อว่า พุทธะ โดยนัยเป็นต้นว่า ตรัสรู้สัจจะ
ทั้งหลาย. ชื่อว่า เสฏฐะ เพราะเป็นผู้สูงสุด และควรสรรเสริญ, ชื่อว่า
พุทธเสฏฐะ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้ เป็นผู้สูงสุดและควรสรรเสริญ. อีกนัยหนึ่ง
ชื่อว่า พุทธเสฏฐะ เพราะเป็นผู้ประเสริฐสุด ในพระพุทธะทั้งหลาย ที่เรียก
ว่าอนุพุทธะปัจเจกพุทธะและสุตพุทธะ. พระพุทธะผู้ประเสริฐสุดพระองค์นั้น
ทรงชม สรรเสริญ ประกาศสมาธิธรรมใดไว้ในบาลีนั้น ๆ โดยนัยเป็นต้นว่า
มรรคมีองค์ 8 ประเสริฐสุดแห่งมรรคทั้งหลาย เกษมเพื่อบรรลุพระนิพพาน
และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ที่มีเหตุ
มีเครื่องประกอบแก่ท่านทั้งหลาย. มทว่า สุจึ ได้แก่ ผ่องแผ้วสิ้นเชิง เพราะ
ทำการตัดมลทินคือกิเลสได้เด็ดขาด. บทว่า สมาธิมานนฺตริกญฺญมาหุ

ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงสมาธิอันใดว่า อนันตริกสมาธิ สมาธิเกิด
ในลำดับ เพราะอำนวยผลแน่นอนในลำดับการดำเนินการปฏิบัติของตน. อัน-
ตรายใด ๆ ที่ห้ามกันความเกิดผลแห่งอนันตริกสมาธินั้น เมื่อสมาธิอันเป็น
ตัวมรรคเกิดขึ้นแล้ว หามีไม่. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ก็บุคคลนี้ พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดา-
ปัตติผล และพึงเป็นเวลาที่กัปไหม้ กัปก็จะยังไม่พึง
ไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
บุคคลผู้นี้เรียกว่า ฐิตกัปปี ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป บุคคลผู้มี
มรรคพรั่งพร้อมทั้งหมด ก็เป็นฐิติกัปปี ผู้ตั้งอยู่ตลอด
กัป.

บทว่า สมาธินา เตน สโม น วิชฺชติ ความว่า รูปาวจรสมาธิ
หรืออรูปาวจรสมาธิใด ๆ ที่เสมอด้วยอนันตริกสมาธิอันสะอาด ที่พระพุทธะผู้
ประเสริฐสุดสรรเสริญแล้วนั้น ไม่มีเลย. เพราะเหตุไร เพื่อสัตว์แม้เกิดใน
พรหมโลกนั้น ๆ เพราะอบรมสมาธิเหล่านั้นแล้ว ก็ยังมีการเกิดในอบายมีนรก
เป็นต้นอีกได้ และเพราะพระอริยบุคคลตัดการเกิดทุกอย่างได้เด็ดขาด เพราะ
อบรมสมาธิที่เป็นตัวพระอรหัตนี้แล้ว. เพราะฉะนั้น แม้ในสูตรอื่น พระผู้-
มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นสังขตะ
[อันปัจจัยปรุงแต่ง] มีประมาณเท่าใด ฯลฯ อริยมรรค
มีองค์ 8 กล่าวกันว่าเป็นเลิศว่าสังตธรรมเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ตรัสความที่อนันตริกสมาธิ อันสมาธิอื่น ๆ
เทียบไม่ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยความที่รัตนะคือมรรคธรรม อันรัตนะ
อื่นไม่เทียบได้ โดยนัยก่อนนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวนะว่า อทมฺปิ ธมฺเม
ฯเปฯ สุวตฺถิ โหตุ
แม้อันนี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ฯลฯ ขอ

1. ปสาทสตร อัง. จตุกนิบาต.

ความสวัสดีจงมี. ความของสัจจวนะนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวมาก่อนแล้ว
นั่นแล. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่ง
พระคาถานี้แล.

พรรณนาคาว่า เย ปคฺคลา


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ แม้ด้วยคุณแห่งมรรคธรรม
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสแม้ด้วยสังฆคุณว่า เย ปุคฺคลา เป็นต้น.
ในคำนั้น ศัพท์ว่า เย เป็นนิเทศไม่แน่นอน. บทว่า ปุคฺคลา ได้แก่
สัตว์ทั้งหลาย. ศัพท์ว่า อฏฺฐ เป็นการกำหนดจำนวนสัตว์เหล่านั้น จริงอยู่
สัตว์เหล่านั้น มี 8 คือ ผู้ปฎิบัติ [มรรค] 8 ผู้ตั้งอยู่ในผล 4. บทว่า สตํ
ปสฏฺฐา
ได้แก่อันสัตบุรุษ คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ-
สาวก และเทวดาและมนุษย์เหล่าอื่น สรรเสริญแล้ว. เพราะเหตุไร. เพราะ
ประกอบด้วยคุณ มีศีลที่เกิดร่วมกันเป็นต้น. ความจริง คุณทั้งหลายของ
สัตบุรุษเหล่านั้น มีศีลสมาธิเป็นต้นเกิดร่วมกัน เหมือนสีและกลิ่นเป็นต้นที่
เกิดร่วมกันของดอกจำปาและดอกพิกุลเป็นต้น . ด้วยเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น
จึงเป็นที่รัก .ที่ต้องใจ ที่น่าสรรเสริญ ของสัตบุรุษทั้งหลาย เหมือนดอกไม้
ทั้งหลาย ที่พร้อมด้วยสีและกลิ่นเป็นต้น เป็นที่รักที่ต้องใจน่าสรรเสริญของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เย
ปุคฺคลา อฏฺฐ สตํ ปสฏฺฐา.

อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เย เป็นนิเทศไม่แน่นอน. บทว่า ปุคฺคลา
ได้แก่สัตว์ทั้งหลาย. ศัพท์ว่า อฏฺฐสตํ เป็นการกำหนดจำนวนสัตว์เหล่านั้น.
จริงอยู่ สัตว์เหล่านั้น ได้แก่พระโสดาบัน 3 พวก คือ เอกพิชี ไกลังไกละ
และสัตตตักขัตตุปรมะ พระสกทาคามี 3 พวก ผู้บรรลุผลในกามภพ รูปภพ